วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

จากความหมายของ "คอมพิวเตอร์" ก็คงจะมองออกว่า คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ ต้องประกอบด้วยส่วนการทำงานอะไรบ้าง นั่นคือ คอมพิวเตอร์ต้องประกอบด้วยส่วนรับข้อมูลและคำสั่ง ส่วนประมวลผล ส่วนที่ใช้แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผล และส่วนในการเก็บบันทึกข้อมูล ซึ่งเรียกรวมกันว่า "องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์" อันได้แก่








·       ส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูล และคำสั่ง เรียกว่า หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
·       ส่วนที่นำเอาข้อมูลและคำสั่งไปประมวลผล เรียกว่า หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit ; CPU)
·       ส่วนที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์เรียกว่า หน่วยแสดงผล (Output Unit)
·       ส่วนที่ทำหน้าที่บันทึกคำสั่งและข้อมูล อย่างถาวร เรียกว่า หน่วยความจำรอง (Secondary Storage Unit)
นอกจากส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคอมพิวเตอร์ทั้ง 4 ส่วนยังมีส่วนประกอบอื่นๆ อีกดังนี้
·       ข้อมูล (Data) คือข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบคุลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟ้ฟ้าฯ ในปัจจุบันเราถือว่าข้อมูล มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์ ถ้าฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์เสียหาย ไปยังหาซื้อใหม่ได้ แต่ถ้าหากข้อมูลเกิดการสูญหายแล้ว หน่วยงานอาจจะประสบปัญหาในการดำเนินงานได้ทันที
·       บุคคลากร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์ มากนัก ดังนั้นเราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย
·       ระเบียบ คู่มือ และ มาตรฐาน (Procedure) การนำคอมพิวเตอรต์เข้ามาใช้ในหน่วยงานนั้น จะต้องไปสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบัติงานจำนวนมาก บุคคลเหล่านี้บางคนก็เรียนรู้ได้เร็ว บางคนก็ช้า และนอกจากนั้นยังมีแนวคิด และทัศนคติที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อให้คนเหล่านี้ทำงานร่วมกันได้โดยไม่มีปัญหา จึงจำเป็นจะต้องมีระเบียบปฏิบัติ ให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้ นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ด้านคอมพิวเตอร์และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่นขึ้น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้น เพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน


หน่วยรับข้อมูล (INPUT UNIT)
เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือคำสั่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ดำเนินการประมวลผล โดยอาศัยอุปกรณ์รับข้อมูลหลากรูปแบบ เช่น แป้นพิมพ์ (Keyboard), เมาส์ (Mouse), บอลกลิ้ง (Track Ball), ก้านควบคุม (Joy Stick) ฯลฯ
ข้อมูลที่นำเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ รูปทรง สี อุณหภูมิ เสียง ตลอดจนสิ่งอื่นๆ ที่สามารถส่งเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผล

หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit ; CPU)
หน่วยประมวลผลกลาง เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประมวลผลและควบคุมระบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ให้ทุกหน่วยทำงานสอดคล้องสัมพันธ์กัน
 
 
หลายท่านคงสงสัยว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor), ชิป (Chip), โพรเซสเซอร์ (Processor) เหมือนหรือต่างจาก CPU หรือไม่ อย่างไร? คำตอบก็คือเหมือนกัน จะเรียกชื่ออะไรก็ได้ เนื่องจากส่วนประกอบภายในเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อนจำนวนมาก มีทรานซิสเตอร์ประกอบกันเป็นวงจรหลายล้านตัว แต่ละชิ้นมีความกว้าง 0.35 ไมครอน ขณะที่เส้นผมคนเรามีเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 ไมครอน ผ่านกรรมวิธีการผลิตที่สะอาดยิ่งกว่าความสะอาดในโรงพยาบาลเสียอีก






 
แต่เดิมส่วนต่างๆ ของหน่วยประมวลผลกลาง จะแยกส่วนกันเป็น
ชิ้นๆ ต่อมาเทด ฮอฟฟ์ (Ted Hoff) นักออกแบบวงจรคอมพิวเตอร์
จากบริษัท Intel ได้จัดให้ส่วนต่างๆ รวมกันภายใน Chip แผ่นเดียว
เรียกว่า "ไมโครโพรเซสเซอร์ - Microprocessor" และด้วยเทคโนโลยีไมโครโพรเซสเซอร์นี่เอง ที่ทำให้พัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูลไมโครคอมพิวเตอร์ ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว


หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยหน่วยย่อย ดังนี้
1. หน่วยควบคุม (Control Unit)
2. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit ; ALU)
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)


 
 











การสื่อสารระหว่างหน่วยต่างๆ ใน CPU จะใช้สายสัญญาณที่เรียกว่า Bus Line หรือ Data Bus

·       หน่วยควบคุม (Control Unit)
หน่วยควบคุมทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของหน่วยทุกๆ หน่วย ใน CPU และอุปกรณ์อื่นที่ต่อพ่วง เปรียบเสมือนสมองที่ควบคุมการทำงานส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ เช่น แปลคำสั่งที่ป้อน ควบคุมให้หน่วยรับข้อมูลรับข้อมูลเข้ามาเพื่อทำการประมวลผล ตัดสินใจว่าจะให้เก็บข้อมูลไว้ที่ไหน ถูกต้องหรือไม่ ควบคุมให้ ALU ทำการคำนวณข้อมูลที่รับเข้ามา ตลอดจนควบคุมการแสดงผลลัพธ์ เป็นต้น
·       รับชุดคำสั่งจาก RAM แล้วทำการอ่านและแปลชุดคำสั่ง
·       ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ภายในระบบ โดยเฉพาะส่วนประกอบของ Processor
·       ควบคุมการไหลของโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่ RAM และออกจาก RAM และควบคุมการไหลของสารสนเทศ (Processed data) เข้าสู่ RAM ตาม Address ที่ว่างก่อนนำไปแสดงผล

·       หน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU; Arithmetic and Logic Unit)
หน่วยคำนวณและตรรกะ ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic operations) และการคำนวณทางตรรกศาสตร์ (Logical operations) โดยปฏิบัติการเกี่ยวกับการคำนวณได้แก่ การบวก (Addition) ลบ (Subtraction) คูณ (Multiplication) หาร (Division) สำหรับการคำนวณทางตรรกศาสตร์ ประกอบด้วย การเปรียบเทียบค่าจริง หรือเท็จ โดยอาศัยตัวปฏิบัติการพื้นฐาน 3 ค่าคือ
·       เงื่อนไขเท่ากับ (=, Equal to condition)
·       เงื่อนไขน้อยกว่า (<, Less than condition)
·       เงื่อนไขมากกว่า (>, Greater than condition)
สำหรับตัวปฏิบัติการทางตรรกะ สามารถนำมาผสมกันได้ทั้งหมด 6 รูปแบบ คือ
·       เงื่อนไขเท่ากับ (=, Equal to condition)
·       เงื่อนไขน้อยกว่า (<, Less than condition)
·       เงื่อนไขมากกว่า (>, Greater than condition)
·       เงื่อนไขน้อยกว่าหรือเท่ากับ (<=, Less than or equal condition)
·       เงื่อนไขมากกว่าหรือเท่ากับ (>=, Greater than or equal condition)
·       เงื่อนไขน้อยกว่าหรือมากกว่า (< >, Less than or greater than condition) ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่มีค่าคือ "ไม่เท่ากับ (not equal to)" นั่นเอง
·       หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
หน่วยความจำหลัก ซึ่งมีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ Main Memory Unit, Primary Storage Unit, Internal Storage Unit เป็นหน่วยที่ใช้เก็บข้อมูล และคำสั่งเพื่อใช้ในการประมวลผล และเก็บข้อมูลตลอดจนคำสั่งชั่วคราวเท่านั้น ข้อมูลและคำสั่งจะถูกส่งมาจากหน่วยควบคุม สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
·       หน่วยความจำสำหรับเก็บคำสั่ง (Program Memory)
·       หน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่ง (Data & Programming Memory)
หน่วยความจำสำหรับเก็บคำสั่ง (Program Memory)
ใช้เก็บคำสั่งที่มักใช้บ่อยๆ เช่น คำสั่งเริ่มต้นการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยคำสั่งนี้จะอยู่ภายในคอมพิวเตอร์ตลอดไป แม้ว่าจะทำการปิดเครื่องไปแล้ว มักจะเป็นข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก โดยเฉพาะข้อมูลที่ใช้ในการเริ่มระบบ (Start Up) ข้อมูลควบคุมการรับส่งคำสั่งและข้อมูล ตลอดจนการแสดงผล บางรุ่นอาจจะมีตัวแปลภาษา BASIC) มักมีขนาดเล็กเพียง 48 กิโลไบต์ ปัจจุบันหน่วยความจำนี้ สร้างจากเทคโนโลยีสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) สามารถแยกประเภทย่อยได้เป็น
·       ROM (Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่บริษัทผู้ผลิตได้บรรจุคำสั่งเอาไว้แล้ว อย่างถาวร ไม่สามารถแก้ไข - เปลี่ยนแปลงได้ โดยปกติหน่วยความจำนี้ติดตั้งมาจากบริษัทผู้ผลิต โดยผู้ใช้ไม่มีโอกาสเลือก
·      
 
PROM (Programmable ROM) เป็นหน่วยความจำรอมประเภทที่ผู้ใช้สามารถเขียนคำสั่ง แล้วบันทึกเอาไว้อย่างถาวร โดยอาศัยเครื่องมือเฉพาะ แต่คำสั่งที่บันทึกนั้นไม่สามารถแก้ไขได้อีก โดยป้อนพัลส์แรงดันสูง (HIGH VOLTAGE PULSED) ทำให้ METAL STRIPS หรือ POLYCRYSTALINE SILICON ที่อยู่ในตัว IC ขาดออกจากกัน ทำให้เกิดเป็นลอจิก “1” หรือ “0” ตามตำแหน่ง
ที่กำหนดในหน่วยความจำนั้นๆ เมื่อ PROM ถูกโปรแกรมแล้ว ข้อมูลภายใน จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก หน่วยความจำชนิดนี้ จะใช้ในงานที่ใช้ความเร็วสูง ซึ่งความเร็วสูงกว่า หน่วยความจำ     ที่โปรแกรมได้ชนิดอื่นๆ
·      
 
EPROM (Erasable PROM) เป็นหน่วยความจำรอมประเภทที่สามารถเขียนคำสั่ง บันทึกและแก้ไขด้วยเครื่องมือเฉพาะได้หลายๆ ครั้ง ข้อมูลจะถูกโปรแกรม โดยผู้ใช้โดยการให้สัญญาณ ที่มีแรงดันสูง (HIGH VOLTAGE SIGNAL) ผ่านเข้าไปในตัว EPROM ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ใช้ใน PROM แต่      ข้อมูลที่อยู่ใน EPROM เปลี่ยนแปลงได้ โดยการลบข้อมูลเดิมที่อยู่ใน EPROM ออกก่อน แล้วค่อยโปรแกรมเข้าไปใหม่ การลบข้อมูลนี้ทำได้ด้วย
 การฉายแสง อุลตร้าไวโอเลตเข้าไปในตัว IC โดยผ่าน ทางกระจกใส ที่อยู่บนตัว IC เมื่อฉายแสง ครู่หนึ่ง (ประมาณ 5-10 นาที) ข้อมูลที่อยู่ภายใน ก็จะถูกลบทิ้ง ซึ่งช่วงเวลา ที่ฉายแสงนี้ สามารถดูได้จากข้อมูล ที่กำหนด (DATA SHEET) มากับตัว EPROM และ มีความเหมาะสม ที่จะใช้ เมื่องานของระบบ มีโอกาส ที่จะปรับปรุงแก้ไขข้อมูลใหม่



หน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่ง (Data & Programming Memory)
หรือที่เรียกว่า แรม (RAM; Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูล และคำสั่งจากหน่วยรับข้อมูล แต่ข้อมูลและคำสั่งเหล่านั้นสามารถหายไปได้ เมื่อมีการรับข้อมูลหรือคำสั่งใหม่ หรือปิดเครื่อง หรือกระแสไฟฟ้าขัดข้อง หน่วยความจำแรม เป็นหน่วยความจำที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ จำเป็นจะต้องเลือกซื้อให้มีขนาดใหญ่พอสมควร มิฉะนั้นจะทำงานไม่สะดวก แรมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันแบ่งได้เป็น
·       SRAM (Static RAM) ทำงานได้โดยไม่ต้องอาศัยสัญญาณนาฬิกา
·      
 
DRAM (Dynamic RAM) ทำงานโดยอาศัยสัญญาณนาฬิกามากระตุ้น แต่ก็มีจุดเด่นคือ มีขนาดเล็กกว่า SRAM และสิ้นเปลืองพลังงานน้อยกว่า ยังแบ่งย่อยได้เป็น
·       EDO RAM (Extended-data-out RAM)
·       SDRAM (Synchronous dynamic RAM)
ทั้งนี้ RAM ก็คือแผงวงจรที่ประกอบด้วยกลุ่มวงจรไฟฟ้า
ขนาดเล็กจำนวนมาก เช่นเดียวกับ Processor ทำงานโดยมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง
โดยแผงวงจรทำด้วยสารกึ่งตัวนำ ที่สามารถรับกระแสไฟฟ้าได้รวดเร็ว เรียกว่า Chip
 ซึ่งมีขนาดเล็กมาก ประมาณ 1/8 ของแสตมป์ขนาดเล็กเท่านั้น แต่สามารถจุข้อมูลได้มากกว่า 4 แสนอักขระ ระหว่างหน่วยความจำแรมและ CPU มีแผงวงจรพิเศษเรียกว่า Cache Memory ที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับแรม
แต่นำมาช่วยให้การทำงานเร็วขึ้น โดยการบันทึกคำสั่งที่ใช้บ่อยๆ และใช้ต่อเนื่องเก็บไว้ เพื่อให้ CPU นำไปประมวลผลได้เร็วและมีประสิทธิภาพขึ้น

ความเร็วของ RAM คิดกันอย่างไร
ที่ตัว Memorychip จะมี เลขรหัส เช่น HM411000-70 ตัวเลขหลัง (-) คือ ตัวเลขที่บอก ความเร็วของ RAM ตัวเลขนี้ เรียกว่า Accesstime คือ เวลาที่เสียไป ในการที่จะเข้าถึงข้อมูล หรือ เวลาที่แสดงว่า ข้อมูลจะถูก ส่งออกไปทาง Data busได้เร็วแค่ไหน ยิ่ง Access time น้อยๆ แสดงว่า RAM ตัวนั้น เร็วมาก

หน่วยความจำความเร็วสูง (Cache Memory)
หน่วยความจำแคช เป็นหน่วยความจำขนาดเล็กที่มีความเร็วสูง ทำหน้าที่เหมือนที่พักคำสั่ง และข้อมูลระหว่างการทำงาน เพื่อให้การทำงานโดยรวมเร็วขึ้น แบ่งเป็นสองประเภท คือ แคชภายใน (Internal Cache) และแคชภายนอก (External Cache) โดยแคชภายใน หรือ L1 หรือ Primary Cache เป็นแคชที่อยู่ในซีพียู ส่วนแคชภายนอก เป็นชิปแบบ SRAM ติดอยู่บนเมนบอร์ด ทำงานได้ช้ากว่าแบบแรก แต่มีขนาดใหญ่กว่า เรียกอีกชื่อได้ว่า L2 หรือ Secondary Cache

ความจุของหน่วยความจำ
โดยเหตุที่หน่วยความจำแรม เป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์นี่เอง เมื่อกล่าวถึงขนาดความจุของหน่วยความจำ จึงหมายความถึง ขนาดของหน่วยความจำแรม เช่น บอกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ มีขนาดความจุของหน่วยความจำ 16 MB หมายความว่า คอมพิวเตอร์มีขนาดหน่วยความจำแรม เท่ากับ 16 MB นั่นเอง
การวัดขนาดหน่วยความจำ นิยมใช้หน่วยเป็นไบต์ (Byte) ซึ่งอาจเทียบได้เท่ากับตัวอักษร 1 ตัว โดยที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้หน่วยความจำที่ใหญ่มาก เพื่อให้สะดวกจึงต้องคิดหน่วยที่ใหญ่ขึ้นไปอีกมาเรียก นั่นคือ หน่วย KB เท่ากับ 1024 ไบต์ (แต่อาจถือเอาคร่าวๆ ว่าเป็นพันไบต์ได้) และ MB ซึ่งเท่ากับประมาณ หนึ่งล้านไบต์ ดังนี้
1 Byte (ไบต์)
=
1 ตัวอักษร
1 KB (กิโลไบต์)
=
1024 ตัวอักษร
1 MB (เมกกะไบต์)
=
1024 KB
1 GB (กิกะไบต์)
=
1024 MB
สำหรับเหตุผลที่ 1 KB มีค่าเท่ากับ 1024 ไบต์ก็เนื่องจากระบบจำนวนที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ เป็นระบบเลขฐานสอง ทำให้การคำนวณค่าใช้เลข 2 เป็นฐาน แล้วยกกำลัง 10 เท่ากับ 210 เท่ากับ 1024 และเนื่องจาก 1024 มีค่าใกล้เคียงกับ 1000 จึงเป็นที่ยอมรับกันให้เรียกว่า กิโล "Kilo" เช่นกัน

รีจิสเตอร์ (Register)
รีจิสเตอร์ (Register) เป็นพื้นที่เก็บข้อมูลชั่วคราว (Temporary storage area) ซึ่งอยู่ภายใน CPU อย่างไรก็ตามรีจีสเตอร์ไม่ใช่หน่วยความจำ และไม่ได้อยู่ในหน่วยความจำหลัก ทำหน้าที่เป็นที่พักข้อมูลชั่วคราวเท่านั้น สำหรับเก็บคำสั่ง ผลลัพธ์ หรือข้อมูลที่เกิดขึ้นระหว่างการประมวลผลของ CPU รับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง โดยมีความเร็วสูงกว่า Cache Memory ประมาณ 10 เท่า และเคลื่อนย้ายข้อมูลได้รวดเร็ว ทำงานภายใต้การควบคุมของหน่วยควบคุม รีจีสเตอร์ที่สำคัญได้แก่
·       Accumulator ใช้ทำคำสั่งเกี่ยวกับการคำนวณ และเก็บ ผลลัพธ์จากการคำนวณ
·       Storage Register เก็บข้อมูลและคำสั่งชั่วคราวจากหน่วยความจำหลัก หรือส่งกลับ
·       Address Register บอกตำแหน่งของข้อมูลและคำสั่งในหน่วยความจำ
·       General Purpose Register ใช้เป็นฟังก์ชันต่างๆ เช่น คำนวณทางคณิตศาสตร์ และเป็นที่อยู่ของคำสั่งใน หน่วยความจำ
ทั้งนี้คอมพิวเตอร์แต่ละระบบจะมี Register ไม่เท่ากัน เครื่องที่มี Register มากกว่าย่อมมีประสิทธิภาพที่สูงกว่าตามไปด้วย

หน่วยแสดงผล (OUTPUT UNIT)
หน่วยแสดงผล ทำหน้าที่รับข้อมูลจากหน่วยความจำ ซึ่งผ่านการประมวลผลแล้วมาแสดงใน          รูปแบบต่างๆ โดยอาศัยอุปกรณ์แสดงผล ได้แก่ จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), เครื่องวาดภาพ (Plotter)

หน่วยเก็บข้อมูลรอง (Secondary Storage Unit)
นอกจากองค์ประกอบที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังมีส่วนการทำงานอีกส่วนหนึ่งที่จำเป็น และสำคัญมากในการใช้คอมพิวเตอร์ ได้แก่ "หน่วยเก็บข้อมูลรอง" เนื่องจากข้อมูลต่างๆ ที่ส่งเข้ามาประมวลผล และผลลัพธ์จากการประมวลผล จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำแรม ซึ่งเมื่อปิดเครื่อง หรือมีปัญหาทางไฟฟ้า อาจจะทำให้ข้อมูลเหล่านั้นสูญหาย จึงจำเป็นต้องมีหน่วยเก็บข้อมูลรอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้เพื่อเรียกใช้ต่อไป
หน่วยเก็บข้อมูลรองที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ Floppy Disk (Diskette), Hard Disk และ CD-ROM

คีย์บอร์ด (Keyboard)
 
 
คีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเบื้องต้น มีลักษณะการทำงานคล้ายคีย์บอร์ดของเครื่องพิมพ์ดีด แต่ได้เพิ่มปุ่มควบคุมเฉพาะสำหรับคอมพิวเตอร์ โดยปกติจะมี 101 คีย์ ซึ่งบางรุ่นอาจจะมีน้อย หรือมากกว่าก็ได้ โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้

·       101-key Enhanced keyboard
·      
 
104-key Windows keyboard
·       82-key Apple standard keyboard
·       108-key Apple Extended keyboard
·       Notebook & Palm keyboard



ปุ่มต่างๆ บนคีย์บอร์ดมีจำนวนมาก ซึ่งสามารถแบ่งได้ 4 ส่วนหลัก คือ
·       Typing keys กลุ่มปุ่มพิมพ์อักขระ
·       Numeric keypad กลุ่มปุ่มตัวเลข และเครื่องหมายคำนวณ
·       Function keys กลุ่มปุ่มฟังก์ชัน F1 - F12
·       Control keys กลุ่มปุ่มควบคุมต่างๆ เช่น ลูกศร, Ctrl, Alt เป็นต้น ปุ่มฟังก์ชัน และปุ่มควบคุม             ทางบริษัท IBM (.. 1986) ได้พัฒนาเพิ่มเข้ามาในคีย์บอร์ด เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากขึ้น

การทำงานของคีย์บอร์ด


 
 

การทำงานของคีย์บอร์ด จะเกิดจากการเปลี่ยนกลไกการกดปุ่ม ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า เพื่อส่งให้คอมพิวเตอร์ โดยสัญญาณดังกล่าว จะบอกให้คอมพิวเตอร์ทราบว่ามีการกดคีย์อะไร การ
 
ทำงานทั้งหมดจะถูกควบคุมด้วย Microprocessor ขนาดเล็กที่บรรจุในคีย์บอร์ด และสัญญาณต่างๆ จะส่งผ่านสายสัญญาณผ่านทางขั้วต่อ ซึ่งแบ่งได้ 4 ประเภท คือ

·       5-pin DIN (Deustche Industrie Norm) connector
 
เป็นขั้วต่อขนาดใหญ่ ใช้กับคอมพิวเตอร์ในรุ่นแรก

·       6-pin IBM PS/2 mini-DIN connector เป็นขั้วต่อขนาดเล็ก ปัจจุบันพบได้อย่างแพร่หลาย
·       4-pin USB (Universal Serial Bus) connector เป็นขั้วต่อรุ่นใหม่



 
 



·       internal connector เป็นขั้วต่อแบบภายใน พบได้ใน Notebook Computer


คีย์บอร์ดในอนาคต
 
ปัจจุบันคีย์บอร์ด มีการพัฒนาไปตามยุคสมัย                   โดยเฉพาะยุคโลกไร้พรมแดน ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต บริษัทผู้ผลิตหลายบริษัท ได้ทำการผลิตคีย์บอร์ด ที่มีปุ่มฟังก์ชันสำหรับตรวจสอบอีเมล์ และการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต ตลอดจน         ควบคุมระบบมัลติมีเดียต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ ดังเช่นรูปที่ปรากฏ
 
 








 
ปัจจุบัน ความต้องการคีย์บอร์ดที่สะดวกต่อการพกพา
ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ คือคีย์บอร์ดแบบพับได้
ซึ่งทำได้สารพลาสติกที่มีการใส่วงจรภายใน
ที่สามารถพับม้วนได้สะดวก



 
 

เมาส์ (Mouse)

อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด ได้แก่
อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง ที่เรียกว่า เมาส์ (Mouse) หรือ
"หนูอิเล็กทรอนิกส์" เนื่องจากเป็น อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายหนู
มีสายต่ออยู่ที่ปลายลักษณะเดียวกับหางหนู เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)" ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด

พัฒนาการของเมาส์
เมาส์พัฒนาขึ้นมาครั้งแรก ในศูนย์ค้นคว้าที่เมืองปาโลอัลโต้ ของบริษัทซีร็อก (Xerox Corporation’s Palo Alto Research Center) เมาส์มีหลายรูปร่าง หลายลักษณะ โดยเฉพาะเมาส์รุ่นใหม่ๆ จะออกแบบมาอย่างสวยงาม โดยปกติปุ่มของเมาส์ จะมี 2 ปุ่มสำหรับเมาส์ของเครื่องพีซี และปุ่มเดียวสำหรับเครื่อง Macintosh ปัจจุบันมีการพัฒนาให้เมาส์ใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยเพิ่มปุ่มเลื่อนตรงกลาง มีลักษณะคล้ายล้อ ดังรูป เรียกว่า Intelli Mouse ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการเลื่อนจอภาพเพื่อดูข้อมูล นอกจากนี้ยังมีเมาส์ที่ทำงานด้วยสัญญาณแสง ที่เรียกว่า Infrared หรือ Wireless Mouse


 







เมาส์ทำงานอย่างไร ?
เมาส์ประกอบด้วย ลูกกลิ้งที่ติดตั้งอยู่ด้านล่าง และมีปุ่มกดควบคุม (ตั้งแต่ 1 - 3 ปุ่ม) การใช้เมาส์จะนำเมาส์วางไว้บนพื้นราบ และเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางที่ต้องการ บนจอภาพจะปรากฏ สัญลักษณ์ชี้ตำแหน่ง เรียกว่า "Mouse Pointer" (มักจะเป็นรูปลูกศรเฉียงซ้าย) เมื่อต้องการจะทำงานใดๆ ก็ทำการกดปุ่มเมาส์ ตามหลักการใช้เมาส์ คอมพิวเตอร์จะรับสัญญาณ และทำการประมวลผลต่อไป

กลไกการทำงานของเมาส์
กลไกการทำงานของเมาส์ มี 3 ประเภท คือ Mechanical, Opto-Mechanical, Optical
 
Mechanical
เป็นกลไกการทำงานที่อาศัยลูกบอลยาง ที่สามารถกลิ้งไปมาได้
 เมื่อทำการเคลื่อนย้ายตัวเมาส์ ซึ่งลูกบอลจะกดแนบอยู่กับลูกกลิ้ง
 โดยแกนของลูกกลิ้ง จะต่อกับจานแปลรหัส (Encoder) บนจาน
จะมีหน้าสัมผัสเป็นจุดๆ เมื่อจุดสัมผัสเลื่อนมาตรงแกนสัมผัส
ก็จะสร้างสัญญาณ บอกไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
โปรแกรมควบคุมเมาส์ จะทำหน้าที่
 แปลเป็นคำสั่งเคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์ บนจอภาพต่อไป

 
Opto-Mechanical
กลไกการทำงานคล้าย Mechanical แต่ตัวรับการเคลื่อนที่ของจาน Encoder จะมี LED อยู่อีกด้านหนึ่งของจานไว้คอยกำเนิดแสง และ   อีกด้านหนึ่ง จะมี Opto-Transistor (ทรานซิสเตอร์ไวแสง) ไว้คอยตรวจจับแสงแทนการใช้การสัมผัส
Optical
 
กลไกการทำงานที่อาศัยแผ่นรองชนิดพิเศษ ซึ่งมีผิวมันสะท้อนแสง และมีตารางเส้นตามแกน X , Y โดยแกนหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน อีกแกนเป็นสีดำ ตัดกันไว้คอยตรวจจับการเคลื่อนที่ ซึ่งบนเมาส์ จะมี LED 2 ตัวให้กำเนิดแสงออกมา 2 สี คือ สีดำ และสีน้ำเงิน LED ที่กำเนิดแสงสีดำ จะดูดกลืนแสงสีน้ำเงิน LED ที่กำเนิดแสงสีน้ำเงิน จะดูดกลืนแสงสีดำ ซึ่งตัวตรวจจับแสง เป็นทรานซิสเตอร์ไวแสง สีที่ตรวจจับได้จะบอกทิศทาง ส่วนช่วงของแสงที่หายไป จะบอกถึงระยะทางการเคลื่อนที่
 


 
Track Ball
ลักษณะของ Track Ball
อุปกรณ์รับข้อมูลที่มีลักษณะคล้ายเมาส์ แต่เอาลูกบอลมาวางอยู่ด้านบน เพื่อลดพื้นที่การใช้งาน เมื่อต้องการเลื่อนตำแหน่ง ก็ใช้นิ้วมือกลิ้งลูกบอลไป-มา และปุ่มกดก็มีจำนวนเท่ากับ ปุ่มกดของเมาส์ เพียงแต่วางไว้ด้านข้าง มักจะพบ Track Ball กับคอมพิวเตอร์ประเภท Note Book

สแกนเนอร์ (Scanner)
Scanner คือ อุปกรณ์ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์แบบกราฟิก ที่มีหน้าที่ ในการเปลี่ยนแปลงภาพต้นฉบับ (รูปถ่าย ตัวอักษรบนหน้ากระดาษ ภาพวาด) ให้เป็นข้อมูล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถนำข้อมูลดังกล่าว มาใช้ประโยชน์ ในการแสดงผลที่หน้าจอ ทำให้สามารถแก้ไข ตกแต่งเพิ่มเติม และจัดเก็บข้อมูลได้

ประเภทของ Scanner
·      
 
Desktop Scanner มีลักษณะเป็นแท่นในแนวราบ แบ่งเป็น 2 แบบ


·       แบบใส่กระดาษ แล้วเลื่อนกระดาษเอง

เรียกว่า Sheetfed Scanner





·      
 
แบบวางกระดาษ แล้วให้หัวสแกนเลื่อนอ่าน
ข้อมูลจากกระดาษ เรียกว่า Flatbed Scanner





 


 

 





                                                                                Handy Scanner มีขนาดเล็ก สามารถจับถือได้
การทำงานของ Scanner
สแกนเนอร์ มีหลักการทำงาน คือ เครื่องอ่านภาพ จะทำการอ่านภาพโดยอาศัยการสะท้อน หรือการส่องผ่านของแสง กับภาพต้นฉบับที่ทึบแสง หรือโปร่งแสง ให้ตกกระทบกับ แถบของอุปกรณ์ไวแสง (Photosensitive) ซึ่งมีชื่อในทางเทคนิคว่า Charge-Couple Device (CCD) ตัว CCD จะรับแสงดังกล่าวลงไปเก็บไว้ใน เส้นเล็กของเซล และจะแปลงคลื่นแสง ของแต่ละเซลเล็กๆ ให้กลายเป็นคลื่นความต่างศักย์ ซึ่งจะแตกต่างไปตามอัตราส่วน ของระดับความเข้มของแสงแต่ละจุด
ตัวแปลงสัญญาณอะนาล็อก เป็นดิจิตอล (Analog to Digital Convertor) จะแปลงคลื่นความต่างศักย์ ให้เป็นข้อมูล ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ ในเวลาเดียวกัน โปรแกรมในการอ่าน จะควบคุมการทำงาน ของเครื่องอ่านภาพ ให้รับข้อมูลเข้า และจัดรูปแบบเป็นแฟ้มข้อมูลของภาพ ในระบบคอมพิวเตอร์ต่อไป
ภาพจากการสแกน
ภาพในคอมพิวเตอร์ จะอยู่ในรูปแบบดิจิตอล คอมพิวเตอร์แทนส่วนเล็ก ๆ ของภาพที่เรียกว่า พิกเซล (Pixels) ขนาดของไฟล์รูปภาพ จะประกอบด้วย จำนวนพิกเซลเป็นร้อยเป็นพัน คอมพิวเตอร์จะบันทึก ค่าความเข้ม และค่าสีของพิกเซลแต่ละพิกเซล ด้วยจำนวน 1 บิต หรือหลายๆ บิต จำนวนของพิกเซล จะเป็นตัวแสดงถึงความละเอียด และถ้ามีจำนวนบิตต่อพิกเซลมาก สีที่ได้ก็จะมากตามไปด้วย
รูปแบบการเก็บข้อมูล มีหลายระบบ เช่น 1 บิต 8 บิต และ 24 บิต โดยถ้าเป็นข้อมูลแบบ 1 บิต จะใช้สำหรับเก็บข้อมูลต่อพิกเซล 2 สถานะ คือ 1 และ 0 ซึ่งจะแสดงสีได้เฉพาะขาวกับดำ แต่ถ้าเป็น 8 บิต จะใช้ความแตกต่างของสีถึง 256 ระดับ การรวมแม่สีมีเทคนิคที่เรียกว่า Dithering ซึ่งจะแสดงสีได้ไม่เหมือนกับ ความจริงที่เรามองเห็นได้ สำหรับระบบ 24 บิต จะให้ภาพที่มีสีใกล้เคียงจริงมากที่สุด เรียกว่า Photo-Realistic โดยจะแบ่ง 24 บิต เป็น 3 ส่วน คือ แดง, เขียว, น้ำเงิน ส่วนละ 8 บิต เมื่อรวมทั้ง 3 ส่วนเข้ากันแล้ว จะสามารถแสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี


RGB
การอ่านภาพสี CCD ของเครื่องอ่านภาพ จะมีการประมวลผล โดยอาศัยโครงสร้างของแม่สี 3 สี คือ แดง, เขียว และน้ำเงิน ในทางเทคนิคจะเรียกว่า RGB ในโครงสร้างสีแบบ RGB นี้แต่ละสีที่เกิดขึ้นจะประกอบด้วยแม่สีทั้ง 3 สีรวมอยู่ด้วยกันในค่าที่ต่างกันไป สีดำเกิดขึ้นจาก การไม่มีแสงสีขาว ในทำนองเดียวกัน สีขาวก็เกิดจากแสงแม่สีทั้ง 3 อยู่ในระดับสูงสุดเท่าๆ กัน (100 เปอร์เซ็นต์ของ RGB) และระดับแสงเท่าๆ กันของทั้ง 3 แม่สีจะเกิดแสงสีเทา (Gray Scale)


ดิจิไทเซอร์ (Digitizer)
 
ดิจิไทเซอร์ หรือ แท็ปเลต (Tablet) เป็นอุปกรณ์รับ         ข้อมูลที่มักจะใช้ในงาน CAD/CAM มีลักษณะเป็น แผ่นสี่เหลี่ยมขนาดเท่ากับจอภาพ และมีอุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง คล้ายเมาส์วางบนแผ่นสี่เหลี่ยม เรียกว่า ทรานซดิวเซอร์ เมื่อเลื่อนตัวชี้ตำแหน่งไปบนกระดาน จะมีการส่งสัญญาณจาก ตะแกรงใต้แผ่นกระดาน ไปให้คอมพิวเตอร์




 
 

จอภาพ (Monitor)
จอภาพเป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีชื่อเรียกมากมาย
เช่น Monitor, CRT (Cathode Ray Tube) สามารถแบ่งได้
หลายรูปแบบ เช่น แบ่งเป็นจอแบบตัวอักษร (Text) กับ
จอแบบกราฟิก (Graphic) โดยจอภาพแบบตัวอักษรจะมีหน่วยวัดเป็นจำนวนตัวอักษรต่อบรรทัด เช่น 80 ตัวอักษร 25 บรรทัด สำหรับจอภาพแบบกราฟิก จะมีหน่วยวัดเป็นจุด (Pixel) เช่น 640 pixel x 480 pixel
 

ลักษณะภายนอกของจอภาพก็คล้ายๆ กับจอโทรทัศน์นั่นเอง สิ่งที่แสดงออกทางจอภาพมีทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว โดยรับข้อมูลจากการ์ดแสดงผล (Video Card, Video Adapter) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่เสียบบนเมนบอร์ด ทำหน้าที่นำข้อมูลจากหน่วยประมวลผล มาแปลงเป็นสัญญาณภาพ แล้วส่งให้จอภาพแสดงผล
ปัจจุบันมีการพัฒนาจอภาพออกมาหลากหลายลักษณะ โดยเน้นที่จำนวนสี ความละเอียด ความคมชัด การประหยัดพลังงาน โดยสามารถแบ่งประเภทจอภาพ ที่ใช้ในปัจจุบันได้กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1.      
 
จอภาพสีเดียว (Monochrome Monitor)
จอภาพที่รับสัญญาณจากการ์ดควบคุม ในลักษณะของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1 โดยการกวาดลำอิเล็กตรอนไปตกหน้าจอ แล้วเกิดเป็นจุดเรืองแสง จะให้สัญญาณว่าจุดไหนสว่าง จุดไหนดับ จอภาพสีเดียวเวลานี้ไม่มีผู้นิยมแล้ว

2.       จอภาพหลายสี (Color Monitor)
จอภาพที่รับสัญญาณดิจิตอล 4 สัญญาณ คือ สัญญาณของสีแดง, เขียว, น้ำเงิน และสัญญาณความสว่าง ทำให้สามารถแสดงสีได้ 16 สี ถึง 16 ล้านสี
3.       จอภาพแบบแบน (LCD; Liquid Crystal Display)
จอภาพผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาเป็นส่วนใหญ่ เป็นแบ่งได้เป็น
1.      
 
Active matrix จอภาพสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่าง และสีสันในอัตราที่สูง มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า TFT – Thin Film Transistor และเนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ราคาของจอประเภทนี้สูงด้วย
2.       Passive matrix color จอภาพสีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย และ       สีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง เรียกอีกชื่อได้ว่า DSTN – Double Super Twisted Nematic
การทำงานของจอภาพ เริ่มจากการกระตุ้นอุปกรณ์หลอดภาพให้ร้อน เกิดเป็นอิเล็กตรอนขึ้น และถูกยิงด้วยปืนอิเล็กตรอน ให้ไปยังจุดที่ต้องการแสดงผลบนจอภาพ ซึ่งที่จอภาพจะมีการเคลือบสารฟอสฟอรัสเรืองแสง เมื่ออิเล็กตรอนเหล่านี้วิ่งไปชน ก็จะทำให้เกิดแสงสว่าง ซึ่งจะประกอบกันเป็นรูปภาพ ในการยิงลำแสดงอิเล็กตรอน มันจะเคลื่อนที่ไปตามแนวขวาง จากนั้นเมื่อกวาดภาพ มาถึงสุดขอบด้านหนึ่ง ปืนลำแสงก็จะหยุดยิง และ ปรับปืนอิเล็กตรอนลงมา 1 line และ เคลื่อนที่ไปยังขอบอีกด้านหนึ่ง และทำการยิ่งใหม่ ลักษณะการยิงจึงเป็นแบบฟันเลื่อย
ปัจจุบันกระแสจอแบน ได้เข้ามาแซงจอธรรมดา โดยเฉพาะประเด็นขนาดรูปทรง ที่โดดเด่น ประหยัดพื้นที่ในการวาง รวมทั้งจุดเด่นของจอภาพแบน ก็คือประหยัดพลังงาน โดยจอภาพขนาด 15 - 17 นิ้ว ใช้พลังงานเพียง 20 - 30 วัตต์ และจะลดลงเหลือ 5 วัตต์ในโหมด Standby ในขณะที่จอธรรมดา ใช้พลังงานถึง 80 - 100 วัตต์

Video Adapter การ์ดแสดงผล


 
 

การ์ด แสดงผล เป็นอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญ และถือเป็นหัวใจหลักในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้ และตัวระบบคอมพิวเตอร์ โดยการนำข้อมูลที่แปลความหมายจากระบบที่มีข้อมูลแบบดิจิตอล เพื่อการสั่งต่อไปทำการควบคุมการสร้างภาพให้กับจอภาพ แปรเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร หรือ รูปภาพ ทำให้ผู้ใช้ สามารถควบคุมการทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีลักษณะ เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูล ที่ประมวลผลจากซีพียู มาแสดงผลบนจอภาพ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ Video Card, Graphic Board เป็นต้น VDO Adapter รุ่นใหม่ จำเป็นต้องทำการติดตั้งไดรเวอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย แบ่งเป็น
·       VGA - Video Graphics Array
ตัวแปลงสัญญาณนี้จะให้ตัวอักษรที่มีระดับความคมชัดที่ความละเอียด 720 x 400 จุด ส่วนโหมดกราฟิกจะแสดงสีของภาพได้ 2 แบบ คือ แบบ 16 สี จะให้ความละเอียดของภาพ 640 x 480 จุด และแบบ 256 สีที่ความละเอียด 320 x 220 จุด แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาและปรับปรุงให้แสดงสีได้มากขึ้น โดยขึ้นอยู่กับจำนวนบิตที่ใช้แสดงจำนวนสีจาก 8 บิต เป็น 16 บิต และ 24 บิต เป็นต้น
·       SVGA - Super Video Graphics Array
ตัวแปลงสัญญาณภาพที่มีความละเอียด 1024 x 768 จุด (ปัจจุบันแสดงได้ถึง 1280 x 1024 จุด)
·       XGA - Extended Graphics Array
ตัวแปลงสัญญาณที่แสดงสีได้พร้อมๆ กันถึง 256 สี ด้วยความละเอียด 1024 x 768 จุด

อัตราการสแกนภาพ
อัตราการสแกนภาพ หรืออัตราการกวาดสัญญาณ (Refresh Rate) หมายถึง ความเร็วในการกวาดสัญญาณ เพื่อสร้างภาพบนจอ โดยอาศัยการกวาดสัญญาณทั้งแนวตั้ง และแนวนอน แบ่งเป็น
·       Interlaced
ระบบการแสดงผลบนจอภาพที่ใช้การยิงอิเล็กตรอนเพื่อการสร้างภาพในความละเอียดสูง โดยไม่ต้องใช้ความถี่ในแนวนอนมากนัก นั่นหมายถึงต้นทุนการผลิตมอนิเตอร์ย่อมลดลงไปด้วย แต่ภาพที่ได้จะมีการสั่นไหวเล็กน้อย และมีผลกับผู้ที่ต้องทำงานกับจอเป็นเวลานานๆ การแสดงภาพจะมีการสแกนบรรทัดเว้นบรรทัด โดยรอบแรกสแกนบรรทัดเลขคี่ รอบสองสแกนบรรทัดเลขคู่ ดังนั้นความถี่ในการสแกนจึงไม่จำเป็นต้องครบรอบ ภาพที่ได้จึงไม่ค่อยชัดเท่าที่ควร
·       Non-interlaced
ระบบการแสดงผลของจอภาพ ที่ใช้ความถี่สูงขึ้นเป็นสองเท่า จากปกติในการยิงลำอิเล็กตรอนกวาดไป บนจอภาพ ช่วยให้สามารถได้ภาพที่มีความนิ่ง ไม่สั่นไหว ทำให้มองดูแล้วสบายตา และไม่เป็นอุปสรรคในการทำงานเมื่อจ้องจอเป็นเวลานานๆ

ความถี่ในการสแกนภาพตามแนวนอน
ความถี่ในการสแกนภาพตามแนวนอน จะมีหน่วยวัดเป็น KHz ซึ่งจะเป็นค่าที่บอกให้ทราบว่า เวลาที่ใช้ในการสแกนภาพ ตามแนวนอน ของแต่ละเส้นนั้น ใช้เวลาเท่าใด

ความถี่ในการสแกนภาพตามแนวตั้ง
ความถี่ในการสแกนภาพตามแนวตั้ง จะมีหน่วยวัดเป็น Hz เป็นค่าที่บอกให้ทราบว่า จอมอนิเตอร์มีการแสดงภาพ ซ้ำไปกี่ครั้งใน 1 วินาที โดยถ้าค่านี้ต่ำกว่า 60 Hz จะทำให้เกิดการกระพริบของภาพบนจอ ดังนั้นควรกำหนดให้มีค่ามากกว่า 70 Hz ขึ้นไป
การเลือกซื้อจอภาพ ควรเลือกชนิดที่มีการสแกนหลายความถี่ (Multiscanning Monitor) หรือเรียกว่า Multisync เพราะสามารถปรับให้เข้ากับ ตัวแปลงสัญญาณทุกประเภท

Dot Pitch
Dot Pitch เป็นระยะห่างของจุดภาพบนจอภาพ มีหน่วยวัดเป็น mm ซึ่งจุดภาพแต่ละจุดบนจอภาพสีนั้น ประกอบด้วยจุดสี 3 จุด คือ สีแดง เขียว และน้ำเงิน (RGB) โดยจุดสีทั้งสามจะวางซ้อนเหลื่อมกัน ถ้าระยะห่างยิ่งมากเท่าใด ก็จะทำให้ภาพที่เกิดไม่ชัด และอาจจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้
ภาพที่ปรากฏบนหน้าจอ จะปรากฏขึ้นมาจาก การที่หลอดภาพยิงลำแสงอิเล็กตรอน ไปยังผิวหน้าด้านในของจอภาพ ซึ่งจะมี "สารฟอสเฟส" ฉาบเอาไว้ เมื่อสารนี้โดนแสง ก็จะถูกกระตุ้นให้เปล่งแสงออกมา จุดไหนที่โดนแสง ก็จะถูกกระตุ้นให้เปล่งแสงออกมาเป็นจุด ๆ ซึ่งจุดที่ว่านี้ก็คือ จุดที่แสดงผลขึ้นมาบนหน้าจอนั่นเอง จุดนี้จะมีชื่อเรียกว่า พิกเซล การที่จอภาพแสดงผลในโหมด 640 x 480 พิกเซก ก็คือการแสดงผลจุดในแนวนอน 640 จุด และแนวตั้ง 480 จุด
จอภาพนั้นมีความละเอียดสูง ปกติแล้วจอภาพขนาด 14 หรือ 15 นิ้วจะมีขนาดของด็อตพิตช์มาตรฐานที่ 0.28 มิลลิเมตร และในการเลือกซื้อจอภาพก็ไม่ความซื้อจอภาพที่มีด็อตพิตช์เกินกว่านี้ เพราะจะให้ภาพที่มีความละเอียดต่ำเกินไป

ซิปเร่งความเร็วการแสดงผล (Accelerator Chip)
เป็นซิปที่ช่วยประมวลผลภาพแทนซีพียูของเครื่อง ทำให้การทำงานโดยรวมเร็วขึ้นกว่าปกติ              โดยจะติดตั้งไว้ในการ์ดแสดงผลนั่นเอง ในปัจจุบันซิปเร่งความเร็วจะเป็นซิปเร่งความเร็วภาพ 3 มิติ                  ที่เรียกว่า 3D accelerator ซึ่งช่วยให้การประมวลผลภาพ 3 มิติ เป็นไปอย่างรวดเร็ว และสมจริง

หน่วยความจำ Video (Video RAM)
เป็นหน่วยความจำที่จำเป็นสำหรับการแสดงผล โดยหน่วยความจำของการ์ดจอ จะเป็นหน่วย        ความจำประเภท RAM ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เรียกว่า VRAM (Video RAM) ซึ่งมีความเร็วในการทำงานสูงมากพบในการ์ดแสดงผลที่มีราคาแพง และมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่บริษัทผู้ผลิต สำหรับการ์ดแสดงผลโดยทั่วไป หน่วยความจำ Video จะใช้ DRAM แทน อาจจะเป็น EDO RAM หรือ DRAM ประเภทอื่นๆ ทำให้ราคาของการ์ดถูกลง หลายคนอาจจะสงสัยว่าหน่วยความจำ ควรจะใส่มากน้อยอย่างไรถึงจะเหมาะสมกับการใช้งาน เนื่องจากมาตรฐานที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่าง Main Board และ Display Card มีอยู่หลายแบบ และ ในแต่ละแบบมีความต้องการ VRAM ที่ไม่เท่ากัน รวมทั้งความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่แตกต่างกัน

วิธีการแสดงผลของจอภาพ
การแสดงผลข้อมูลบนจอภาพ มีรูปแบบการแสดงผล 2 ลักษณะ หรือ 2 โหมด คือ
·       Text mode
การแสดงผลแบบเท็กซ์โหมดเป็นการแสดงผลเฉพาะตัวอักษรที่เก็บรูปแบบของตัวอักษรไว้แล้ว เช่นต้องการแสดงผลตัว B ก็จะเก็บว่าวิธีแสดงผลตัว B เป็นอย่างไรไว้อยู่แล้ว โดยวิธีการแสดงผลจะกำหนดขนาดไว้ตายตัวทำให้จำนวนตัวอักษรที่แสดงบนจอภาพได้ก็จะตายตัวเช่นกัน นั่นคือ 25 บรรทัด 80 คอลัมน์ รูปแบบตัวอักษรที่แสดงบนจอภาพมีจำนวนจำกัด คือมีลักษณะคล้ายเครื่องพิมพ์ดีดที่มีตัวอักษรแค่ไหนก็แค่นั้น ตัวอักษรนอกเหนือจากที่ให้มาก็จะแสดงไม่ได้
ดังนั้นงานทางด้านกราฟฟิก เช่นภาพวิว หรือภาพคนที่ใช้สแกนเนอร์อ่านขึ้นมาก็จะไม่สามารถแสดงผลได้ในเท็กซ์โหมด ทั้งนี้ก็ขึ้นกับ Software ที่ใช้ด้วย
·       Graphic mode
วิธีการแสดงผลแบบกราฟิกโหมดนั้นจะสามารถแสดงได้ทุกๆจุดบนจอภาพ ดังนั้นรูปภาพ หรือตัวอักษรจึงสามารถแสดงบนจอได้โดยมีรูปแบบการแสดงผลและขนาดที่ต่างกันไปได้



พอร์ตการเชื่อมต่อของ Display Card
การเชื่อมต่อของ Display Card ขึ้นกับ Main board และ Display Card ว่าเป็นชนิดใด
·       การเชื่อมต่อแบบ PCI Port
·       การเชื่อมต่อแบบ AGP Port

พอร์ตการเชื่อมต่อของ Display Card - การเชื่อมต่อแบบ PCI Port
หน่วยแสดงผลกราฟฟิกที่มีการเชื่อมต่อตามมาตรฐาน PCI จะมีอัตราการส่งผ่านข้อมูล 133 MB /sec ด้วย และระบบแสดงผลจะมีอยู่สองรูปแบบคือในกรณีที่ระบบเป็นแบบการ์ดเสียบบนสลอต (VGA Card) ต้องมีการเชื่อมต่อแบบ PCI และจะต้องเสียบบน Slot PCI สลอตใดสลอตหนึ่ง และอีกในกรณีคือระบบ VGA เป็นแบบรวมอยู่บนแผงวงจรหลัก (VGA on Board) ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งสองแบบ
ความสัมพันธ์ของการแสดงผลกราฟฟิกที่ความละเอียดต่างๆ จะต้องอาศัยความสามารถของ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่สนับสนุนการทำงาน ตามที่ต้องการ สามารถตรวจสอบได้จาก คำบรรยายคุณลักษณะ ตามที่ผู้ผลิตกำหนดในคู่มือ และความสัมพันธ์ของการแสดงผลกราฟฟิก จะเป็นไปตามค่าความสัมพันธ์ของ ความละเอียดของจุดภาพที่ต้องการ (จำนวน Pixel), จำนวนของสีที่ต้องการแสดงผล (16 สี 4 บิท, 256 สี 8 บิท, High - Color 65,535 สี 16 บิท และ True - Color 16.7 ล้านสี 24 บิท) และจำนวนของหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผล ดังวิธีการคำนวณข้างล่าง

ขนาดของหน่วยความจำ = ความละเอียดของจอภาพทางด้านความสูง X ความละเอียดของ         จอภาพทางความกว้าง X จำนวนไบต์ต่อจุดภาพ

โดยจำนวนไบต์ต่อจุดภาพจะเป็นดังนี้
16 สี
=
0.5 ไบต์
256 สี
=
1 ไบต์
65,535 สี
=
2 ไบต์
16.7 ล้านสี
=
3ไบต์
หมายเหตุ 1ไบต์ = 8 บิท






จากวิธีการคำนวณดังกล่าวจะได้ความสัมพันธ์ดังตารางต่อไปนี้
Resolution
16 color
4 bit
256 Color
8 bit
65,000 - color
(High color ) or
16 bit
16.7 Million -color
(True Color ) or
24 bit
640 x 480
0.5 MB
0.5 MB
1 MB
2 MB
800 x 600
0.5 MB
1 MB
2 MB
2 MB
1,024 x 768
1 MB
1 MB
2 MB
4 MB
1,280 x 1,024
1 MB

2 MB

4 MB
4 MB
1,600 x 1,200
2 MB
2 MB
4 MB
8 MB
1,800 x 1,440
2 MB
4 MB
8 MB
8 MB
ทางด้านคอมพิวเตอร์ความละเอียดในการแสดงผลจะบอกเป็น พิกเซลล์ (Pixel) หรือ จุดภาพ และความการแสดงผลที่ True Color จะมีจำนวนบิตต่อพิกเซลล์ เพียงแค่ 24 บิตเท่านั้น (24 bpp) ไม่ใช่ 32 บิตดังที่เข้าใจ (16.7ล้านสี มีค่าเท่ากับ 224 )
การทำงานของจอแสดงผล ก็จะทำงานตามความสัมพันธ์ระหว่างการ์ดแสดงผล และตัวจอแสดงผลเอง ซึ่งความสามารถในการแสดงผลของจอแสดงผล สามารถตรวจสอบได้จากคำบรรยายคุณลักษณะ คู่มือจากผู้ผลิต และสามารถตรวจสอบการทำงานว่า เป็นไปตามคำบรรยายคุณลักษณะได้ดังนี้ เช่นต้องการตรวจสอบการแสดงผลที่ความละเอียด 1024 X 768 จุดภาพ ที่ 16.7 ล้านสี จะต้องใช้การ์ดแสดงผล ที่มีหน่วยความจำแสดงผลไม่น้อยกว่า 4 MB พร้อมติดตั้งซอฟท์แวร์ควบคุมการทำงานของการ์ดแสดงผลให้ถูกต้อง (Driver) จากนั้นทำการเซ็ทความละเอียดของ การ์ดแสดงผลไปยัง โหมดความละเอียด1024 X 768 จุดภาพ ที่ 16.7 ล้านสี หากจอแสดงผล มีคุณสมบัติที่อ้าง ตามคำบรรยายคุณลักษณะ ก็จะสามารถแสดงผลได้โดยภาพไม่สั่นไหว
ระบบบัสแบบ PCI จะมีอยู่สองแบบคือ แบบ 32 บิท และ 64 บิท สำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไปจะใช้ระบบบัส PCI แบบ 32 บิทเท่านั้น สำหรับระบบบัส PCI แบบ 64 บิทจะมีใช้ใน เครื่องคอมพิวเตอร์เฉพาะงานเท่านั้น และจะไม่พบอุปกรณ์ที่สนับสนุนระบบ PCI 64 บิทในท้องตลาดทั่วไป







 
Diskettes หรือ Floppy Disk
ดิสก์ หรือดิสก์เก็ต หรือฟลอบบี้ดิสก์ เป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูล
ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งสามารถเก็บบันทึกข้อมูล หรือ ลบข้อมูล
 และบันทึกใหม่ได้ มีลักษณะกลมบาง ทำจากสารไมล่าร์ (Mylar)
ที่ฉาบด้วยสารแม่เหล็ก บรรจุในซอง PVC หรือพลาสติกแข็ง
 เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและการขูดขีด อาจจะเรียกว่า แผ่นดิสก์
หรือ Diskette มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
·       disk 8 inch ซึ่งปัจจุบัน ไม่มีการใช้งานแล้ว
·       Disk 5-1/4 inch ซึ่งปัจจุบัน มีใช้อยู่น้อยมาก จะมีก็แต่ คอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ประกอบด้วยสื่อบันทึกข้อมูลที่เป็นแผ่นพลาสติกบาง ทำจากสารไมล่าร์ ครอบผิวด้วยสารแม่เหล็ก ซึ่งเรียกว่า cookie กับซอง PVC หรือที่เรียกว่า Protective jacket ทำหน้าที่ป้องกันแผ่นบันทึกข้อมูล
·       Disk 3-1/2 inch ปัจจุบันใช้กันมาก เป็นที่นิยม เพราะ มีขนาดเล็ก และ สะดวกในการพกพา

ที่ควรทราบ
·       Formatting
คือการเตรียม Disk สำหรับการใช้งาน ก่อนที่จะมีการใช้งาน Disk เหล่านี้ จะต้องมีการ Format ก่อน เพื่อเตรียมเนื้อที่ต่างๆ ให้กับ Disk เพื่อให้สามารถบันทึกข้อมูล ประกอบด้วย การกำหนด Track, Cylinder, Sector เป็นต้น
·       Track
คือส่วนที่บันทึกข้อมูล มีลักษณะเป็นส่วนวงกลมแคบๆ ที่อยู่บน Disk
·       Cylinder
คือ Track ที่มีหมายเลขเดียวกัน เช่น Diskette ก็จะมี Track 0, Side1 และ Track 0, Side 2 ซึ่งทั้งหมดนี้ เรียกว่า Cylinder
·       Sector
คือส่วนที่มีลักษณะเป็น Pie-Shapped ของ Diskette คำว่า Sector ส่วนมากจะใช้ในความหมายของ Track Sector ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ 512 KB.
·       Cluster
คือกลุ่มของ Track ที่มีตั้งแต่ 2-8 Track ขึ้นไป เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในการบันทึกข้อมูลลงใน Disk ถ้า file มีไม่กี่ตัวอักษรก็สามารถบันทึกได้ใน 1 Cluster แต่ถ้า file มีขนาดใหญ่มาก ก็สามารถบันทึกไว้ได้หลาย Cluster



 
ในการ Format แผ่นดิสก์ขนาด 5-1/4 inch จะมี

40-80 Track และ 9-15 Sector และสำหรับดิสก์ 3-1/2 inch
จะมี 80 Track และบางทีจะ Format เป็น 3,18,36 Sector
ในแต่ละด้านของดิสก์ ซึ่งจะเห็นว่า จำนวน Track
และ Sector มีมากกว่า แผ่นดิสก์ แบบ 5-1/4 inch
ดังนั้นจึงสามารถจุข้อมูลได้มากกว่า
 ทั้งนี้จะขึ้นกับความจุของ Disk ด้วย เช่น

Geometry Specification
360 KB 5.25"
1.2 MB 5.25"
720 KB 3.5"
1.44 MB 3.5"
2.88 MB 3.5"
Tracks (Cylinders)
40
80
80
80
80
Sectors Per Track/Cylinder
9
15
9
18
36
Total Sectors Per Disk
720
2,400
1,440
2,880
5,760


Density Characteristic
360 KB 5.25"
1.2 MB 5.25"
720 KB 3.5"
1.44 MB 3.5"
2.88 MB 3.5"
Track Density (TPI)
48
96
135
135
135
Bit Density (BPI)
5,876
9,869
8,717
17,434
34,868
Density Name
Double Density (DD)
High Density (HD)
Double Density (DD)
High Density (HD)
Extra-High Density (ED)







Disk Drive
 
ในการเลือกใช้แผ่นดิสก์แต่ละชนิดนั้น จะต้องมีตัวขับดิสก์ (Floppy Disk Drive: FDD) ที่สนับสนุนการทำงานเหล่านี้ด้วย โดยดิสก์ไดร์ฟตัวแรก พัฒนาโดย Alan Shugart บริษัทไอบีเอ็มใน  ปี.. 1967 เป็นดิสก์ไดร์ฟสำหรับแผ่นบันทึกข้อมูลขนาด 8 นิ้ว (แผ่นดิสก์ - Diskette 8") จากนั้น   มีการพัฒนาขนาดขนาดลงมา เพื่อสนับสนุนดิสก์ขนาด 5 1/4 นิ้ว และ 3 1/2 นิ้วในปัจจุบัน
ดังนั้นดิสก์ไดร์ฟ จึงมี 2 ขนาดตามแผ่นดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน คือ
ดิสก์ไดร์ฟ ขนาด 3.5 นิ้ว และ 5.25 นิ้ว (ปัจจุบันพบ 5.25 นิ้วได้น้อยมาก) และแต่ละประเภท ยังแบ่งตามประเภทความจุของแผ่นดิสก์ ได้อีก เป็น
·      
 
ดิสก์ไดร์ฟ สำหรับแผ่นดิสก์ 3.5 นิ้ว ความจุ 740 KB
·       ดิสก์ไดร์ฟ สำหรับแผ่นดิสก์ 3.5 นิ้ว ความจุ 1.44 MB - HD: high density
·       ดิสก์ไดร์ฟ 5.25 นิ้ว สำหรับแผ่นดิสก์ 5.25 นิ้ว ความจุ 640 KB
·       ดิสก์ไดร์ฟ 5.25 นิ้ว สำหรับแผ่นดิสก์ 5.25 นิ้ว ความจุ 1.2 MB - HD: high density
ส่วนประกอบของ FDD ได้แก่
·       Read/Write Heads: ติดตั้งด้านในของไดร์ฟทั้งสองด้าน ทำหน้าที่อ่านเขียนข้อมูลบนแผ่นดิสก์
·       Stepper Motor: มอเตอร์ที่ทำหน้าที่ ควบคุมการเลื่อนตำแหน่งของหัวอ่านเขียน (Read/Write Head) ให้ทำอย่างอย่างตรงตำแหน่ง แม่นยำ
·       Drive Motor: มอเตอร์ขนาดเล็ก ที่อยู่ติดอยู่แกนกลางของดิสก์ไดร์ฟ มีความเร็วในการหมุน 300 หรือ 360 รอบต่อนาที (rotations per minute: RPM)
·       Mechanical Frame: ระบบเปิดแผงกั้นการอ่านเขียนของแผ่นดิสก์ เพื่อให้หัวอ่านเขียนสัมผัสกับผิวสื่อแม่เหล็กภายในแผ่นดิสก์
·       Circuit Board: แผงอิเล็กทรอนิกส์ ควบคุมการทำงานของดิสก์ไดร์ฟ
Disk Drive จะมีการเชื่อมต่อ (Interface) ในระบบ Computer ด้วยมาตรฐานการเชื่อมต่ออยู่ 2 แบบ IDE และ SCSI จะนิยมใช้แบบ IDE มากกว่า เพราะราคาถูกกว่า และการสนับสนุนในการใช้งานในด้านต่างๆ มีมากกว่า

 
 

Hard Disk
เป็นที่สำหรับเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ มีความจุสูงถึงหน่วยเมกะไบต์ จนถึง กิกะไบต์ และมีความเร็วสูงในการทำงาน และ การส่งผ่านข้อมูลมากกว่า Secondary Storage ทั่วไป ซึ่ง Harddisk จะประกอบไปด้วยจาน Disk หรือที่เรียกว่า Platters หลายๆ แผ่นมารวมกัน ซึ่งแต่ละด้านของ Plalter จะถูกปกคลุมไปด้วยสารประกอบ Oxide เพื่อให้สามารถบันทึกข้อมูลได้
Hard Disk ส่วนมากจะอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่สะดวกในการเคลื่อนย้าย บางทีถูกเรียกว่า Fixed Disk การทำงานของ Hard Disk ก็จะมีลักษณะคล้ายๆกับแผ่นดิสก์ โดยก่อนที่จะทำการบันทึกข้อมูล จำเป็นจะต้อง Format เพื่อให้มีการกำหนด Track, Cylinder, ต่างๆ ขึ้นมาก่อนเพื่อใช้ในการอ้างอิงตำแหน่ง
นอกจากนี้แล้วมันยังสามารถจัดแบ่ง Partitions กล่าวคือ Hard Disk ตัวหนึ่งสามารถแบ่งได้หลาย Patition ขึ้นอยู่กับการแบ่ง Partition ก่อนการ Format (การกำหนด Partition สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง FDISK)
นอกจากนี้ยังขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ว่าใช้ระบบ PCI หรือไม่ ถ้าไม่ใช้ระบบ PCI ในเครื่องจะมองเห็นฮาร์ดดิสก์ขนาดสูงสุดเพียง 540 MB แต่ถ้าเป็น PCI จะต้องมาตรวจสอบ OS(Operation System) ดูอีกทีว่าใช้อะไร เช่น ถ้าเป็น Windows 95 จะสามารถมองเห็น Hard Disk สูงสุดได้ที่ 1.27 GB ต่อ 1 Partition ซึ่งถ้าเรามี Hard Disk 1 ตัว แต่เป็น 2 GB ก็ต้องจัดแบ่งมันเป็น 2 Partition ถ้าเป็นระบบ Windows 95 OSR2 ก็จะสามารถมองเห็นได้เกิน 2 GB เป็นต้น
ระบบควบคุมการทำงานของ Hard Disk ที่มีใช้งานอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้                        ได้มีมาตรฐานที่รองรับการทำงานอยู่ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการเชื่อมต่อ ดังนี้
·      
 
IDE
·       EIDE
·       SCSI
ศัพท์เทคนิคที่ควรทราบเกี่ยวกับ ความเร็วของ Disk ที่บรรจุข้อมูล
·       Seek Time
เป็นเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนหัวอ่านเขียนไปยังตำแหน่งที่ต้องการใน Hard Disk มีหน่วยเป็น มิลลิวินาที ถ้ามีค่าต่ำ ถือว่ามีความเร็วในการทำงานสูง
·       Rotional Latency
เป็นเวลาเฉลี่ยที่หัวอ่านเขียนคอยให้เซกเซอร์เป้าหมายบน Hard Disk หมุนมาอยู่ใต้หัวอ่านเขียน เพื่อให้เคลื่อนไปยัง Track ที่ต้องการ มีหน่วยเป็น มิลลิวินาที ถ้ามีค่าต่ำถือว่ามีความเร็วในการทำงานสูง
·       Drive RPM - (Revolution Per Minute)
เป็นความเร็วในการหมุนของจาน Platter มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที ถ้ามีค่ามากยิ่งดี
·       Disk Transfer Rate
เป็นอัตราความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลของ Hard Disk จากการอ่านและเขียนบนจาน Platter มีหน่วยเป็น BPS ไบต์ต่อวินาที หรือ บางครั้งจะใช้ บิตต่อวินาที ยิ่งมีค่ามากก็จะเร็วมากขึ้นเท่านั้น
ทั้งนี้ในการเลือกใช้ Hard Disk จะต้องพิจารณาถึงความสามารถของ Chip Set, BIOS, Operating System (Windows 98 สนับสนุน ถ้าหากใช้ Windows95 จะต้องมีการ Update Driver ซึ่งสามารถหาได้จากผู้ขาย) ที่มารองรับ ว่าสนับสนุนการทำงานเหล่านี้หรือไม่ เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพที่สูงที่สุด

Hard Disk - IDE
เป็น Hard Disk ที่มีความเร็วในการรับ-ส่ง ข้อมูลช้า ซึ่งจะทำงานใน PIO Mode ดังนี้
·       PIO Mode 0 ซึ่งมีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล 3.3 MB/s
·       PIO Mode 1 ซึ่งมีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล 5.2 MB/s
·       PIO Mode 2 ซึ่งมีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล 8.3 MB/s
Hard Disk แบบ IDE จะมีความจุไม่มากนัก คือไม่เกิน 528 MB และในแบบนี้จะมีคอนเน็กเตอร์ IDE เพียงชุดเดียว ซึ่งทำให้สามารถใช้ Hard Disk ได้ไม่เกิน 2 ตัว ตามปกติระบบ IDE แบบธรรมดานั้น ถูกออกแบบมาให้ใช้กับ Hard Disk เท่านั้น ซึ่งไม่คอมแพติเบิลกับ ATAPI (AT Attachment Packet Interface) เช่น พวก CD-ROM หรือ เทปไดรว์ เป็นต้น IDE เป็น Hard Disk ที่จัดว่ามีความเร็วในการรับ-ส่ง ข้อมูลที่ช้า และ เป็นรุ่นเก่า แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ใช้ Hard Disk ชนิดนี้อยู่มาก

Hard Disk - EIDE(Enchanced IDE)
เป็นมาตรฐานใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยีของ IDE โดยมีประสิทธิภาพในการทำงาน และมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลใกล้เคียง กับแบบ SCSI ที่ระดับเทคโนโลยีเดียวกันและมีราคาถูก ในปัจจุบันนิยมใช้ Hard Disk แบบ EIDE นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการรับ-ส่งข้อมูลได้รวดเร็ว ในเครื่องรุ่นใหม่จะสามารถพบอินเตอร์เฟซแบบ EIDE ซึ่งโดยมากจะติดตั้งมากับ Main Board เราจึงไม่จะเป็นต้องมีการ์ดเพิ่มขึ้นอีก

ข้อดีของ EIDE
·       ความจุที่มีมากขึ้น กล่าวคือสามารถจุได้สูงถึง 8.4 GB
·       การต่อกับอุปกรณ์ภายนอกได้มากขึ้น โดย EIDE นั้นสามารถต่อกับอุปกรณ์ภายนอกได้ถึง 4 ตัว เพราะมีคอนเน็กเตอร์อยู่ 2 ชุด คือ Local-Bus (Primary Connector) และ ISA (Secondary Connector) ซึ่งโดยปกติจะเชื่อมต่อกับ Local Bus เนื่องจากมีความเร็วสูง แต่สำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ไม่ต้องการความเร็วสูงนักก็สามารถต่อเข้ากับ ISA ซึ่งมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลช้ากว่า Local Bus
·       สนับสนุนการต่อพ่วงกับอุปกรณ์อื่นที่สนับสนุนการทำงานตามมาตรฐาน ATAPI เช่น CD-ROM, Tap Drive
·       สนับสนุนการทำงานของ PCI BUS และ VL-BUS ซึ่งปัจจุบัน VL-Bus ไม่มีในเครื่องรุ่นใหม่
·       จะทำงานใน PIO Mode (Programable Input/Output) สำหรับ Hard Disk แบบ Fast ATA (Fast AT Attachment) และ Fast ATA-2 ทำงานใน DMA Mode สำหรับ Hard Disk แบบ DMA และ Ultra DMA ซึ่งเป็น เทคโนโลยีที่มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูง ดังนี้
·       PIO Mode 3 ซึ่งมีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล 11.1 MB/s
·       PIO Mode 4 ซึ่งมีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล 16.6 MB/s
·       DMA Mode 0 ซึ่งมีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล 4.16 MB/s
·       DMA Mode 1 ซึ่งมีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล 13.3 MB/s
·       DMA Mode 2 ซึ่งมีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล 16.6 MB/s
·       Ultra DMA/33 มีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล 33 MB/s
·       Ultra DMA Mode 2 มีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล 33.3 MB/s


Hard Disk - SCSI
เป็น Hard Disk ที่มีความสามารถในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงที่สุด แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนา Hard Disk แบบ EIDE ให้มีความเร็วสูงเกือบเทียบเท่ากับ SCSI และ เทียบเท่ากับ SCSI ในบางรุ่น แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความแตกต่างทางด้านราคา ซึ่ง SCSI มีราคาสูงกว่า EIDE ถึง 30 % ขึ้นไป ในขนาดความจุที่เท่ากัน และความเร็วที่อยู่ระดับใกล้เคียงกัน มาตรฐานการเชื่อมต่อก็ต้องเป็น SCSI ซึ่งต้องเสียเงินค่าการ์ดอินเตอร์เฟซนี้เพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม มันยังมีข้อดีที่ความเร็ว และ สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก ได้ถึง 7 อุปกรณ์ และในขณะที่ Configuration ของ EIDE สามารถติดตั้งอุปกรณ์แบบภายใน (Internal) เท่านั้น แต่ SCSI สามารถติดตั้งอุปกรณ์แบบภายนอก (External) ได้ ดังนั้นส่วนใหญ่ การอินเตอร์เฟซแบบนี้ มักถูกนำมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการความเร็วสูง เช่น Server ต่างๆ เครื่อง Work Stration เป็นต้น ข้อเสียของ SCSI นอกจากจะมีราคาแพงแล้ว ยังมีการเชื่อมต่อที่ยากกว่า IDE ถึงแม้ในปัจจุบันจะสามารถอินเตอร์เฟซแบบ Plug and Play โดยระบบ Windows 95 Operating System แต่ในทางปฏิบัติผู้ใช้ก็ต้องติดตั้ง Driver ต่างๆ ลงไป ในขณะที่ EIDE ถ้าเราเชื่อมต่อทาง Physical เรียบร้อยแล้ว เมื่อทำการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS จะทำการเช็คให้ และ สามารถใช้งานได้ทันที


 



ZipDisk
อุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีความจุ 100 MB (ปัจจุบันพัฒนาได้ถึง 250 MB)
 ประกอบด้วย ตัวแผ่นบันทึกข้อมูล ที่มีขนาดใหญ่กว่าแผ่นดิสก์ 3.5 นิ้ว
เพียงเล็กน้อย และตัวบันทึกข้อมูล คล้ายๆ ดิสก์ไดร์ฟแบบต่อภายนอก ทำงานโดย การต่อตัวบันทึกข้อมูล เข้ากับพอร์ตขนาน หรือต่อกับ SCSI (มีให้เลือกใช้สองระบบ) แล้วใช้โปรแกรมไดรเวอร์ เป็นตัวควบคุมการทำงาน ทั้งระบบดอส และวินโดว์ส

 

JazzDisk
อุปกรณ์บันทึกข้อมูลลักษณะเดียวกับ ZIP Disk/Drive
แต่สามารถบันทึกข้อมูลได้ถึง 2 GB ประกอบด้วย ตัวแผ่นบันทึกข้อมูล
ที่มีขนาดใหญ่กว่าแผ่นดิสก์ 3.5 นิ้ว เพียงเล็กน้อย และตัวบันทึกข้อมูล
คล้ายๆ ดิสก์ไดรฟ์แบบต่อภายนอก ทำงานโดยการต่อตัวบันทึกข้อมูล เข้ากับพอร์ตขนาน หรือต่อกับ SCSI (มีให้เลือกใช้สองระบบ) แล้วใช้โปรแกรมไดรเวอร์ เป็นตัวควบคุมการทำงาน ทั้งระบบดอส และวินโดว์ส

การ์ดเสียง (Sound Card)
 
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการสังเคราะห์เสียงโดย Sound Card จะเป็นได้ทั้ง Input และ Output ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น Input เมื่อนำสัญญาณเสียง ที่ได้จากภายนอกมาประมวลผล และทำหน้าที่เป็น Out Put เมื่อนำข้อมูลที่เก็บในรูปไฟล์ซึ่งมีหลาย Format ต่างๆ กันออกไปมาประมวลผล และส่งออกไปเป็นสัญญาณที่ Output เช่น MPEG, AVI, REM เป็นต้น ขึ้นกับ Software ที่ใช้ ซึ่งจะมีการแปลงข้อมูลจาก Digital (สัญญาณที่ไม่ต่อเนื่องกัน เช่น 0,1 ซึ่งอยู่ในรูปของไฟล์ข้อมูล) ไปเป็นสัญญาณ Analog (สัญญาณที่ต่อเนื่องกัน เช่น สัญญาณเสียง) ส่งสัญญาณผ่าน Out Port เพื่อให้เกิดเสียง
ในปัจจุบันมี Main Board บางรุ่นที่ Build in Sound Card ในตัว
โดยเฉพาะรุ่นใหม่ๆ โดยทั่วไป Sound Card จะใช้ 16 Bits
ซึ่งใช้ ISA Bus เนื่องจากอุปกรณ์ชนิดนี้ ไม่ต้องการความเร็วที่สูงมาก
และบางประเภทที่ใช้ระบบบัสเป็น PCI ซึ่งเป็น Sound Card ที่มีราคาสูง